หินพัมมิสคืออะไร?
หินพัมมิส เกิดขึ้นจากการเย็นตัวของหินหลอมเหลวใต้พื้นโลก หรือที่เราเรียกกันว่า “ลาวา”
ลาวาเหล่านี้เกิดจากการหลอมละลายหิน และ แร่ธาตุต่างๆ ด้วยความร้อนใต้พื้นโลก ด้วยเหตุนี้ หินลาวาจึงมีสสาร และแร่ธาตุมากมายดังตัวอย่างตารางด้านล่าง
ประโยชน์ของหินพัมมิส?
ซิลิกา (SiO₂) ช่วยเสริมสร้างผนังของเซลล์พืชให้แข็งแรง เพิ่มความต้านทานโรคให้กับพืช
โพแทสเซียม (K₂O) ช่วยทำให้ผนังเซลล์ของพืชหนาขึ้น และลำต้นแข็งแรงขึ้น ถ้าขาดก็จะทำให้พืชล้มได้ และจะแสดงอาการขาดออกมาโดยที่ปลายใบ และขอบใบจะมีสีเหลือง
แมกนีเซียม (MgO) เป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ในพืช ทำให้ใบมีสีเขียวเข้ม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของพืช หากขาดจะแสดงอาการออกมาที่ใบแก่ โดยบริเวณขอบเส้นใบจะมีสีเหลือง หรือมีแผลไหม้เป็นจุดๆ
แมงกานีส (MnO) เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิด หรือบางคนนิยมเรียกว่า “น้ำย่อย” หากขาดธาตุแมงกานีสแล้ว ใบส่วนกลางของต้นไม้จะเกิดเป็นแผลขึ้นระหว่างเส้นใบ
แคลเซียม (CaO) เป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างเซลล์ และช่วยให้เซลล์ของพืชทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้
- แคลเซียมจะทำให้ท่อน้ำ และท่ออาหารของพืชแข็งแรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำ และอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช
- แคลเซียมเป็นส่วนสำคัญในการทำให้การสร้างฮอร์โมนต่างๆของพืชเป็นไปตามปกติ เช่น ฮอร์โมนไซโตไคนินที่ช่วยให้เกิดตาดอก ถ้าพืชขาดแคลเซียม การสร้างฮอร์โมนของพืชก็จะลดลงกระทบต่อการออกดอกและการเจริญเติบโตของพืช
- แคลเซียมจะสร้างระบบรากให้แข็งแรงดูดน้ำดูดอาหารได้ดีขึ้น ถ้าขาดแคลเซียม ระบบรากจะอ่อนแอ เซลล์ของรากจะแตกง่าย โรคทางดินก็จะเข้าสู่รากได้ง่าย
- แคลเซียมช่วยให้ระบบรากมีความต้านทานต่อดินเค็ม
- แคลเซียมช่วยให้การสะสมไนเตรทของพืชได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะในช่วงที่พืชที่ต้องการไนเตรทสูง ระบบรากของพืชจะไม่เจริญเติบโต รากจะสั้นถ้าขาดแคลเซียม โดยเฉพาะรากใหม่จะต้องการแคลเซียมสูง